สภาวะการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง
“ธรรมชาติกำลังทวงคืน จากโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง”
สถานการณ์ชั้นบรรยากาศ
ในชั้นบรรยากาศของโลกเป็นภัย ที่เราอาจมองเห็นแต่ทุกคนรับรู้ถึงผลของมัน คือ “สภาวะเรือนกระจก” มีข้อดีในการทำให้เกิดการเผาไหม้ แต่มีการสะสมมากเกินไปของคาร์บอนไดออกไซด์ CO₂ , มีเทน CH₄ ,ไนตรัสออกไซด์ N₂O ,คาร์บอนมอนนอกไซด์ CO เรียกว่า “ กลุ่มก๊าซเรือนกระจก” ซึ่งการสะสมจากหลายสาเหตุทั้งจากธรรมชาติ เช่น อุตสาหกรรมผลิต ไฟป่า การขนส่ง อุตสาหกรรมการเกษตร เป็นต้น
จากวีดีโอของNOAA เห็นได้ว่า ปริมาณของCO₂มีการสะสมทวีคูณขึ้นมาก ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณสูงที่สุดตั้งแต่ที่โลกได้ถือกำเนิด และในหลายๆปีมานี้มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก ที่อุ่นขึ้นทวีคูณ ภัยพิบัติ สถานการณ์ต่างๆ
การสะสมของสภาวะเรือนกระจกเกิดจากแสงอาทิตย์ที่ส่องลงมาสู่โลก ดูดซับบางส่วนและบางส่วนสะท้อนกลับไปกลับมาโดยชั้นบรรยากาศที่เหมือนกระจก ทำให้โลกรักษาอุณหภูมิให้อุ่นขึ้นสามารถอยู่อาศัยได้และยังเกิดกระบวนการเผาไหม้ จุดไฟติด แต่ในปัจจุบันกระจกที่สะท้อนความร้อนได้หนาขึ้นจากมนุษย์ ตั้งแต่สมัยประติวัตอุสาหกรรม ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจึงงสูงขึ้นอย่างทวีคูณ จนถึงทุกวันนี้โดยไม่มีทีถ้าว่าจะหยุดอยู่คงที่
ปริมาณสะสมของ CO2 CH4 ที่เป็นตัวการหลักของสภาวะเรือนกระจก
1. Trends in Atmospheric Carbon Dioxide(CO2) ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ
Time |
Atmospheric Carbon Dioxide(ppm : part per million ) |
January 2023 |
419.31 ppm |
January 2022 |
417.20 ppm |
2. Trends in Atmospheric Methane (CH4) ปริมาณมีเทนในชั้นบรรยากาศ
Time |
Atmospheric Carbon Dioxide(ppb : part per billion ) |
December 2022 |
1924.99 ppb |
December 2021 |
1908.84 ppb |
ความน่ากลัวและน่าตกใจของก๊าซเรือนกระจก
ปัจจุบันมีการงดเผาในช่วงฤดูร้อนเพื่อแก้ปัญหาไฟป่า แก้ปัญหาหมอกควัน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาระยะสั่น เฉพาะหน้าเพราะปัญหาจริงๆอาจเป็นเรื่องของสภาวะเรือนกระจกที่ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นทำให้เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น การที่งดเผาช่วงเวลาฤดูร้อนไม่ได้ช่วยเรื่องสภาวะเรือนกระจกเลย สุดท้ายพอหมดช่วงงดเผาก็จะเผาอีกอยู่ดี!! ทำให้เกิดการสะสมของก๊าซเรือนกระจก
“ งดเผา 3 เดือนเพื่อเผา 9 เดือนคือการแก้ไขปัญหาจริงๆหรือไม่ ? ”
อธิบายผลกระทบของชั้นบรรยากาศที่มีสาเหตุจากสภาวะโลกร้อน ขอบคุณข้อมูลจากคนใฝ่รู้ [Studios]
สาระน่าคิดจากสมาคมนิเวศนวัฒกรรมเชียงใหม่
- คุณคิดว่าถ้าตอนนี้คุณอายุ 40 ปีอุณหภูมิ 41.5 องศาในฤดูร้อน แล้วที่ตอนคุณอายุ 50 ปี อุณหภูมิจะมีกี่องศา ?
- แล้วถ้าตอนนี้อุณหภูมิขึ้นปีละ 1 องศาคุณคิดว่าเราจะสามารถอยู่รอดได้ไหม ?
- ดูจากปริมาณสะสมของ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทนที่เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ ทำให้อุณหภูมิของโลกเปลี่ยนไปทุกๆปี ถ้าหากตอนนี้โลกอุ่นขึ้น 0.5 องศา ในปีต่อๆหากเราไม่ช่วยกันแก้ไขโลกจะอุ่นขึ้นมากกว่าปีละ 0.5 องศา อย่างแน่นอน
- คำตอบของโจทย์นั้นมันอยู่ในมือของคุณทุกคนไม่ใช่แค่จากองค์กร รัฐ สหประชาชาติ อนาคตของโลกอยู่ที่การกระทำของทุกคน
สถานการณ์ของโลก
จากปัญหาการสะสมตัวของก๊าซเรือนกระจกทำให้โลกอุ่นขึ้น ทำให้เกิดผลกระทบกับโลกอย่างมากซึ่งไม่สามารถกลับไปแก้ไขได้ ดูจากวิดีโอตัวอย่างจาก 10 อันดับ การเปลี่ยนแปลงของโลกที่ถูกบันทึกโดยนาซ่า NASA เผยแพร่โดย TopSib Thailand
การละลายของธารน้ำแข็ง
จากอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้แผ่นน้ำแข็งหลายๆแห่งรวมถึงทวีปแอนตาร์กติกกำลังละลายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับของน้ำจืดมีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งยังมีความเปลี่ยนแปลงของกระแสในมหาสมุทร อุณหภูมิของมหาสมุทรที่เพิ่มสูงขึ้นผิดปกติ ทำให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำจากด้านล่างสู่ด้านบนของมหาสมุทร เกิดการชะลอความเร็วลง ทำให้ส่งผลต่อการดันกระแสน้ำในมหาสมุทรอื่นๆ ทั่วโลก
ธารน้ำแข็งในสวิตเซอร์แลนด์ ละลายไวขึ้น หมดไปแล้วเกินครึ่งดูจากภาพถ่ายที่แสดงให้เห็น
การละลายของธารน้ำแข็งในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐอลาสก้า ประเทศสหรัฐอเมริกา
น้ำแข็งที่กรีนแลนด์ นักวิทยาศาสตร์สภาพอากาศ บอกว่ามนุษย์ไม่สามารถหยุดการละลายของธารน้ำแข็งแห่งนี้ได้แล้ว ถึงแม้จะลดการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลมากขนาดไหนก็ตาม เนื่องมาจากความร้อนสะสมในชั้นบรรยากาศ
ขอบคุณขอบมูลจาก BBC News ไทย
ปัญหาน้ำท่วมจากน้ำทะเลหนุนสูง
เมืองเวนิสของอิตาลี ที่เผชิญภาวะน้ำขึ้นสูงที่สุดในรอบกว่า 50 ปี ทะลักเข้าท่วมโบสถ์สำคัญทางประวัติศาสตร์อายุนับพันปี
ป่าที่ลดจำนวนกับทะทรายที่ขยายตัว
ความรุนแรงของพายุทะเลทรายสู่การเพิ่มขึ้นของทะเลทรายโกบี สาเหตุดังนี้
- อุณหภูมิที่สูงขึ้น
- ปริมาณฝนที่ลดลง
- การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก
- การสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
- การที่มีโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นทั่วโลก
- รวมถึงการตัดไม้ทำลายป่า
พายุทะเลทรายกรงุปักกิ่งและหลายมณฑลโดยรอบ
ป่าเมอร์รี ประเทศปากีสถานในระยะเวลา 10 ปีจะเห็นถึงการถูกทำลายแลจำนวนพื้นที่สีเขียวลดลงอย่างมาก
อ้างอิงเปรียบเทียบ ก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์.(2017)
ป่าของโลกได้ลดลงอย่างน่าเป็นห่วง ซึ่งการลดจำนวนของป่าไม้เป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะโลกร้อน ตามวิดีโอของ ibusinessTV
สถานการณ์บ้านเรา
เปรียบเทียบการพัฒนาอุตสาหกรรมกับสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิตในอดีต
- อดีตธรรมชาติ ยังคงปรับสภาพควบคู่กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง
- แรงปรารถนาสูง ธรรมชาติไม่สามารถคงอยู่ เมื่อความเจริญเทคโนโลยีที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น
- ปัจจุบัน การพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวกระโดด การแข่งขันทางเศรษฐกิจสูง สิ่งแวดล้อมย่อมกระทบ
“ระบบที่ขาดการพัฒนาอย่างยั่งยืนควบคู่กัน”
การเดินทางสู่โลกอนาคต
“ระบบที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนควบคู่กัน”
ประเทศไทยประเทศไทยมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมการผลิต ดังนี้
- ปี พ.ศ. 2503 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อการลงทุน ขยายผลิตชิ้นส่วนและเครื่องใช้ไฟฟ้า
- ปี พ.ศ. 2504 อุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ เพื่อประกอบรถจักรยานยนต์ รถยนต์ขึ้นเป็นรายแรก
ภัยแล้ง
ตัวอย่าง เขื่อนภูมิพล ปีพ.ศ.2558
ปี 2558 |
ความจุสูงสุด |
13,462 ล้าน ลบ.ม. |
ตลอดปี |
จัดเก็บได้เพียง |
3,923 ล้าน ลบ.ม |
ฝนหมด |
ความต้องการน้ำ |
22 ล้าน ลบ.ม./วัน |
วิกฤต |
จ่ายน้ำได้เพียง |
10 ล้าน ลบ.ม./วัน |
ผลกระทบ |
ชะลอการเพาะปลูก |
3.44 ล้านไร่ |
จากตารางเห็นได้ว่าความต้องการน้ำมากกว่าปริมาณน้ำที่จ่ายได้ทำให้เกิดความเสียหายแก่พืชการเกษตร
อุทกภัย
เขื่อนภูมิพลปี2554
ปี2554 |
ความจุสูงสุด |
13,462 ล้าน ลบ.ม. |
|
สะสมในอ่าง |
13,453 ล้าน ลบ.ม. |
กังวล |
น้ำที่กำลังจะไหลเข้า |
12,751 ล้าน ลบ. |
วิกฤต |
ต้องการระบายน้ำ |
60 ล้าน ลบ.ม./วัน |
ผลกระทบ |
พื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 69.02 ล้านไร่ |
จากตารางจะเห็นว่าความจุกับปริมาณน้ำในเขื่อนมีปริมาณที่น่าเป็นห่วงจากน้ำที่กำลังจะไหลเข้ามาสู่เขือนเพิ่ม จึงต้องระบายน้ำจำนวนมาก ซึ่งสร้างผลกระทบต่อบ้านเมืองพื้นที่การเกษตรจากปัญหาน้ำท่วม
หมอกควัน PM2.5
- 2562 – ค่า AQI สูงถึง 344 เป็นอันดับ 1 ของโลก
- 2563 – มีค่า PM 2.5 อยู่ที่ 715 I9/M3
- ในปี 2566 AQI สูงถึง 656 เป็นอันดับ 1 ของโลกอีกครั้ง
*หมายเหตุ AQI (Air Quality Index) คือ ดัชนีคุณภาพอากาศPM 2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน
วิกฤตการณ์ป่าไม้ของประเทศไทย
จากข้อมูล พื้นที่ป่าลดลงจาก 171 ล้านไร่ (ร้อยละ 53.3) ในปี 2504 เหลือ 81 ล้านไร่ (ร้อยละ 25.28 ในปี 2541 อัตราการสูญเสียเฉลี่ย 367,244 ไร่/ปี