ภารกิจของสมาคม

เรียน      ทุกท่าน ชุมชน เอกชน ภาคธุรกิจ องค์กรและภาครัฐ

เรื่อง       การร่วมพลัง ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม

               เป็นที่ทราบในวงกว้างทั้ง ชนบท สังคมเมือง ประเทศและสถานการณ์ของโลกกำลังเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงจากธรรมชาติและมนุษย์อย่างทวีคูณ ทำให้โลกมีอุณหภูมิอุ่นขึ้นทุกปีและมีการคาดการณ์ว่าเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 1 องศาเซลเซียสและอาจทวีคูณมากขึ้นไปอีกเรื่อยๆจากฝีมือของมนุษย์ ทำให้เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรง

               สถานการณ์โลกเรากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ควรเป็นเรื่องของทุกภาคส่วน ทุกสังคม ที่จะต้องร่วมกัน รับผิดชอบ สละเวลา ระดมความคิด สละทรัพยากรณ์ ในการทำกิจกรรมฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวช่วยลด Co2 ที่เป็นตัวการของภาวะเรือนกระจก และลดต้นตอของการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม

               ในการนี้ทางสมาคมนิเวศนวัตกรรมเชียงใหม่ขออาสาเป็นตัวกลาง ในการขับเคลื่อน เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล และดำเนินการร่วมปลูกป่ารักษาสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาโลกร้อน ขยะสังคม

               ทางสมาคม หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยเป็นตัวกลางที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการลดปัญหาภาวะโลกร้อน ภัยธัรรมต่างๆที่เกิดขึ้นจึงเรียนมาเพื่อทราบ

ด้วยความเคารพอย่างสูง
นายกสมาคมนิเวศนวัตกรรมเชียงใหม่
พร้อมคณะกรรมการและทีมงาน

ส่งเสริมพืชเศรษฐกิจ

โครงการเพิ่มชา สร้างอาชีพ

               ชุมชนดอยปู่หมื่นต้องการต่อยอดชาต้นแรก เพาะขยายพันธุ์ชา และเพิ่มจำนวนชาเพื่อเพิ่มผลผลิต จึงได้หารือร่วมกับวิสาหกิจชุมชนรักต้นน้ำดอยปูหมื่น องค์การบริหารท้องถิ่น ปกครองท้องถิ่น และได้ผลสรุปจากที่ประชุมได้มีความเห็นว่าสมควรจัดตั้งโครงการเพิ่มชาสร้างอาชีพขึ้นมา

ผู้รับผิดชอบโครงการ : คณะกรรมการ “โครงการเพิ่มชาสร้างอาชีพ”

พื้นที่ดำเนินโครงการ : ชุมชนดอยปู่หมื่น ตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่ราบสูงในภาคเหนือ

วัตถุประสงค์              

  1. เพื่อสานต่อศาสตร์ของพระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
  2. เพื่อเพิ่มจำนวนต้นชาให้ได้จำนวนมากขึ้น
  3. เพื่อนำต้นกล้าชาที่เพาะปลูกไว้ไปแจกจ่ายให้กับชุมชนที่ประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมป่าไม้ และสนใจเข้าร่วมโครงการ เป็นการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมธรรมชาติให้เป็นพื้นที่สีเขียว
  4. เพื่อสร้างอาชีพเสริมให้กับคนในชุมชน เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่คนในชุมชน

เป้าหมาย

  1. ชาวบ้านมีรายได้เสริมจากการเพาะชา
  2. ชุมชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการได้รับกล้าชา แล้วนำไปปลูกในพื้นที่เขาหัวโล้นของพื้นที่ตนเองได้
  3. สภาพแวดล้อมทางสังคมในชุมชนดีขึ้น ลดการย้ายถิ่นฐานของชนเผ่าเข้าสู่สังคมเมือง
  4. เพาะกล้าชาอัสสัม

ระยะเวลาดำเนินการ

ระยะเวลา 2 ปี ในการเพาะเมล็ดขยายพันธุ์ชาอัสสัม

ผู้เข้าร่วมโครงการ

  1. ชาวบ้านชุมชนบ้านดอยปู่หมื่น
  2. หน่วยงานและองค์กรต่างๆ
  3. บุคคลทั่วไป

ขั้นตอนการดำเนินงาน

  1. การเตรียมพื้นที่และสร้างโรงเพาะชาอัสสัม
  2. การเพาะขยายพันธุ์ชาอัสสัมโดยการเพาะเมล็ดชาอัสสัม
  3. การดูแลต้นกล้าหลังการเพาะเมล็ดพันธุ์ชาอัสสัม
  4. การกระจายต้นกล้าชาอัสสัมสู่พื้นราบสูงในชุมชนอื่นๆ
  5. การนำไปปลูกและดูแลรักษาต้นชาอัสสัม
  6. การเก็บเกี่ยวใบชาอัสสัม
  7. การเก็บรักษาและแปรรูปใบชาอัสสัมหลังการเก็บเกี่ยว
  8. การจำหน่ายผลผลิตจากต้นชาอัสสัม

ผลการดำเนินงาน

  • เกิดการสร้างอาชีพและกระจายรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน
  • ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากการสร้างพื้นที่แหล่งเพาะพันธุ์ชาอัสสัม
  • ส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

  1. ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงการรักษาส่งเสริมชุมชนต้นน้ำ
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่า 80% มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้น เกิดการร่วมมือในการทำกิจกรรมโครงการ
  4. ผู้เข้าร่วมโครงการมีการบอกต่อถึงกิจกรรม และกลับมาทำกิจกรรมต่อ

ประสานงานโครงการ

ประธานโครงการ

นาย อุดม ชิดนายี
นายกสมาคมนิเวศนวัตกรรม
ติดต่อ 081-881-8376

ฝ่ายประสานงานโครงการ

นางสาว จิราวรรณ ไชยกอ
หัวหน้ากลุ่มพัฒนาเศรษฐกิจดอยปู่หมื่นทำหน้าที่ประสานงานโครงการ
ติดต่อ 095-697-7741

นางสาวรุ้งราวัลย์ ชิดนายี
เลขานุการสมาคมนิเวศนวัตกรรมทำหน้าที่ประสานงานโครงการ
ติดต่อ 087-726-6771

ตารางเวลา โครงการเพิ่มชา สร้างอาชีพ

ส่งเสริมต้นไม้เศรษฐกิจสีเขียว

โครงการ Chiang Mai Green and Grow

               “ป่า” เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ เป็นศูนย์รวมทุกสรรพสิ่ง ทั้งสัตว์ พืชพันธุ์ไม้นานาชนิด เป็นแหล่งอาหาร ที่พักพิง เป็นแหล่งกำเนิดสิ่งมีชีวิตมากมาย ป่าไม้ให้ประโยชน์แก่เรามากมาย ช่วยปรับสมดุลธรรมชาติ ช่วยดูดซับมลพิษ สร้างออกซิเจนให้อากาศบริสุทธิ์ ดูดซับน้ำเอาไว้ทำให้ลดการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ป้องกันการเกิดหน้าดินถล่ม

               ในปัจจุบันพื้นที่ป่าในประเทศไทยหายไปมากกว่า 36 ล้านไร่ (อ้างอิง:กรมป่าไม้แห่งประเทศไทย) ซึ่งเป็นตัวเลขที่มหาศาล สาเหตุเกิดจากการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า การบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย การเผาป่า รวมถึงการทำเกษตรกรรม เช่น การปลูกข้าว ปลูกพืช ไม้ผลต่างๆ ที่ส่งผลให้พื้นที่ป่าลดลงอย่างต่อเนื่อง ให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆตามา อาทิเช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม ดินถล่ม ภาวะโลกร้อน เป็นต้น

หลักการและเหตุผลโครงการ

               ทางโครงการ Chiang Mai Green and Grow ได้เล็งเห็นความสำคัญของพื้นที่หมู่บ้านทุ่งยั๊วะ ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากพื้นที่ส่วนนี้เป็นพื้นที่แหล่งป่าต้นน้ำของแม่น้ำปิง  ซึ่งเป็นแม่น้ำที่สำคัญของภาคเหนือ เป็นต้นน้ำหนึ่งในแม่น้ำที่มาบรรจบเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ทางโครงการ Chiang Mai Green and Grow จึงได้จัดทำโครงการเพาะกล้าพันธ์ไม้ท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพาะพันธุ์กล้าไม้พื้นถิ่น เพิ่มปริมาณป่าไม้ ให้มั่นคงและยั่งยืน ทำให้ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ รักษาสมดุลของธรรมชาติ ดูแลป่าต้นน้ำ ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ลดภาวะโลกร้อน ลดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ที่เกินค่ามาตรฐานทำให้โลกกลายเป็นโลกที่น่าอยู่ อากาศบริสุทธ์ สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้แก่ชุมชน เกิดกระบวนการเรียนรู้ ความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีจนนำไปสู่การเกิดพลังร่วมใจในการปกป้อง คุ้มครองผืนป่า และทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อลดปัญหาการเกิดภัยพิบัติทางภัยธรรมชาติ ลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก
  2. เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว เปลี่ยนป่าเสื่อมโทรมให้เกิดความสมบูรณ์
  3. เพื่อจ้างแรงงานในท้องถิ่น สร้างรายได้เสริมให้แก่คนในท้องถิ่น
  4. เพื่อปลูกจิตสำนึกและสร้างความตระหนักให้รู้จักคุณประโยชน์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

เป้าหมายโครงการ

  1. ปลูกต้นกล้าพันธุ์ “สัก”  999,999 ล้านต้น
  2. ปลูกต้นกล้าพันธุ์ “ประดู่” 999,999 ล้านต้น 
  3. ปลูกต้นกล้าพันธุ์ “ไม้ยางนา” 999,999 ล้านต้น
  4. ปลูกต้นกล้าพันธุ์ “ไม้เต็ง” 999,999 ล้านต้น
  5. เพื่อสร้างอาชีพให้แรงงานในชุมชนเป็นการป้องกันการย้ายถิ่นฐานชนเผ่าสู่สังคมเมือง
  6. เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กับคนในองค์กร

สถานที่

  1. พื้นที่ทำกินเดิมที่เสื่อมโทรมของชุมชนหมู่บ้านทุ่งยั๊วะ ตำบลกื๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
  2. พื้นที่ภูเขาหัวโล้นหมู่บ้านป่าข้าวหลาม ตำบลกื๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติลดลง ลดปัญหาการเกิดปัญหาโลกร้อน
  2. พื้นที่เสื่อมโทรมกลายเป็นป่าไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์
  3. คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เศรษฐกิจในพื้นที่เติบโตขึ้น คนชุมชนมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยว ลดการย้ายถิ่นฐานของคนในชุมชน
  4. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และตระหนักถึงคุณประโยชน์ของการปลูกต้นไม้

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

  1. ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงความสำคัญของผืนป่าและเหตุผลที่ต้องปลูกต้นไม้
  2. พื้นที่มีสัตว์มาอยู่อาศัยคืนสู่ระบบนิเวศตามธรรมชาติ
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่า 80% มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ
  4. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้น เกิดการร่วมมือในการทำกิจกรรมโครงการ
  5. ผู้เข้าร่วมโครงการมีการบอกต่อถึงกิจกรรม และกลับมาทำกิจกรรมต่อ

ประสานงานโครงการ

คุณรุ้งลาวัลย์ ชิดนายี ติดต่อ 087-726-6771
ผู้ดูแลประจำโครงการ

คุณนริสรา    สีอารัญ ติดต่อ 080-147-3885
หน้าที่ประสานงานโครงการ

ตารางเวลา โครงการ Chiang Mai Green and Grow

พันธ์ุไม้มีค่าที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ตามความสูงของระดับน้ำทะเล